Questions? Contact us
Tel. 0-2944-0817 Fax. 02-949-5299
      
   Hardware Product

   Barcode Solution System



RFID

: Radio Frequency Identification
RFID คืออะไร?

RFID เป็นคำย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีแสดงตนแบบอาศัยคลื่นสัญญาณวิทยุในการสื่อสาร
โดยหลักการทำงาน ใช้ในการแสดงตัวตนเหมือนบาร์โค้ด แต่ RFID สามารถอ่านข้อมูลได้ปริมาณมาก เมื่อมี RFID Tag
อยู่บริเวณที่สัญญาณวิทยุสามารถส่งข้อมูลถึง โดยองค์ประกอบหลักของระบบ RFID ต้องมีส่วนประกอบอย่างน้อย ดังนี้
   1. RFID Tag
   2. RFID Reader/Writer
   3. RFID Software

RFID (Radio Frequency Identification)

เป็นระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ Auto- ID แบบไร้สาย (Wireless) ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิธีการระบุเอกลักษณ์วัตถุ
หรือตัวบุคคลโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง หรือการสแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น
ซึ่งมีขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล RFID โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น
ในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณของเครื่องบินเพื่อแยกแยะฝ่ายมิตรและศัตรู
ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์วัตถุอย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

โดยจุดเด่นของ RFID คือ ความสามารในการอ่านข้อมูลของฉลากได้โดยที่ไม่ต้องมีการสัมผัส สามารถอ่านค่าได้แม่นยำแม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก และสามารถอ่านอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็ว

เทคโนโลยี RFID เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีล่าสุดของโลก

หลายประเทศในโลก ให้ความสนใจและตื่นตัวกับเทคโนโลยี RFID จึงมีนโยบายสนับสนุนการใช้ RFID อย่างจริงจัง ปัจจุบันเทคโนโลยี RFID เริ่มเข้ามามีความสำคัญกับเราในชีวิตประจำวันมากขึ้นในรูปแบบการใช้งานต่างๆ กันตามแต่คิดจะประยุกต์ใช้งานได้ เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน บัตรพนักงาน กุญแจรถยนต์(Electronics Immobilization) ในแวดวงอุตสาหกรรมในส่วนของการผลิตเพื่อ Track and Trace ระบบบันทึกข้อมูลการจัดการสินค้าระหว่างการผลิตและจำหน่ายสินค้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain Management) การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้า ระบบการขนส่ง การติดตามตู้สินค้าระหว่างการขนส่ง(e-Seal) การนำมาประยุกต์ใช้งานในการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Traceability) ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยี RFID ในปัจจุบันและอนาคตนั้นมีศักยภาพและปัจจัยเอื้ออำนวยอื่นๆ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจรูปแบบใหม่ และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ซึ่งจะมีส่วนในการเปลี่ยนโฉมของสังคมเข้าสู่สังคมสารสนเทศของประเทศไทย

องค์ประกอบหลักของ RFID

ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
1. Transponder ตัวจัดเก็บและส่งข้อมูล ซึ่งมาจากคำว่า Transmitter ผสมกับคำว่า Responder ที่อยู่ในรูปแบบของฉลาก หรือ ป้าย โดยฉลากนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นเอาไว้ โดยเราเรียกทั่วไปว่า Tag ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณหรือข้อมูลที่บันทึกอยู่ในแท็กตอบสนอกไปที่ตัวอ่านข้อมูล
2.Reader อุปการณ์สำหรับอ่านหรือเขียนข้อมูลภายในแท็ก

ส่วนประกอบของระบบ RFID

จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักด้วยกันคือ
1. ส่วนควบคุม (Controller) ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่แยกออกมาจากส่วนอื่นๆ แต่ก็มีบางแบบเช่นกันที่ประกอบติดกับหัวอ่านและเขียนพร้อมกับ PDA เป็นต้น
2. หัวอ่านและเขียน (Antenna) ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น มีลักษณเป็นจาน, เป็นปากกา หรืออาจจะเป็นแบบมือถือ (Hand Held) ที่ประกอบกับ PDA พร้อมด้วยแป้นพิมพ์ (Key Pad) ขนาดเล็กๆในตัวใช้สำหรับงาน Logistic เป็นต้น
3. Tag ซึ่งมีหลายรูปแบบเช่น เป็นบัตร, เป็นแผ่น, เป็นเหรียญ หรือ เป็นกระดุม เป็นต้น นอกจากนี้ Tag ยังมีชนิดพิเศษที่ใช้สำหรับงานที่ต้องทนกับอุณหภูมิสูงๆ หรืองานที่ต้องติดตั้งกับโครงเหล็ก อีกด้วย นอกจากนี้ Tag ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 Passive Tag เป็น Tag ที่ไม่มี Battery เลี้ยง
3.2 Active Tag เป็น Tag ที่มี Battery เลี้ยง

เปรียบเทียบ RFID กับ Barcode

RFID และ Barcode มีความคล้ายคลึงกันในการที่ ทั้งสองเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ ในกระบวนการของการเก็บรวบรวมข้อมูล อย่างไรก็ตามยังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในหลายแห่ง แม้ว่าการเปรียบเทียบนี้ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของ RFID กว่า Barcode, RFID จะไม่แทนที่เทคโนโลยี Barcode โดย Barcode มีข้อได้เปรียบกว่า RFID ที่สำคัญที่สุดคือค่าใช้จ่ายต่ำกว่า RFID

RFID and Barcode







   1. มี ความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit – ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
   2. ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
   3. สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
   4. สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Non-Line of Sight)
   5. ค่า เฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
   6. สามารถ เขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท
   7. สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
   8. ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
   9. ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
   10. ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก

ประโยชน์ของเทคโนโลยี RFID

- เพิ่มการแสดงผลภายในห่วงโซ่อุปทาน
- ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
- ลดการแทรกแซงของมนุษย์
- ลดเงินทุนหมุนเวียน
- ลดการขาดสต็อก
- ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- การประมวลผลข้อมูลเรียลไทม์
- เข้าถึงได้ในที่ ที่มองไม่เห็น